(อัพเดทปี 2023) Magento 2 vs WordPress WooCommerce เลือกทำเว็บจากอะไรดี

ณ ปัจจุบัน มี Script สำหรับทำเว็บ e-Commerce อยู่ 2 ตัวหลักๆ คือ Magento 2 และ WordPress WooCommerce คำถามที่ทางผมได้รับอยู่บ่อยๆ ก็คือ ระหว่าง Magento 2 กับ WordPress WooCommerce มันต่างกันยังไง และเราจะเลือกทำเว็บจากอะไรดีและเหมาะสมกับเราที่สุด

ข้อแตกต่างระหว่าง Magento 2 และ WordPress WooCommerce

ข้อแตกต่างหลักๆ เลยก็คือ Magento 2 นั้น เป็น Script ที่ถูกออกแบบมาเพื่อทำเว็บไซต์ e-Commerce โดยเฉพาะ ตัวมันเองมี Feature ที่เกี่ยวกับการทำร้านค้าออนไลน์ค่อนข้างครบครัน ครอบคลุมทุกประเด็น ในขณะที่ WooCommerce เป็น Plugin เสริมของ WordPress อีกที ทำให้เว็บที่ทำจาก WordPress นั้นสามารถขายของออนไลน์ได้ง่ายๆ แต่อาจทำบางอย่างที่ซับซ้อนไม่ได้

เปรียบเทียบ Feature เด่นๆ ระหว่าง Magento 2 และ WP WooCommerce

ลำดับรายละเอียดMagentoWooCommerce
1Hosting ที่ลงได้VPS Hosting สำหรับ M2 เท่านั้นลงได้เกือบทุก Host
2ค่าบริการ Script รายปีไม่มีไม่มี
3จำนวนหมวดหมู่สินค้าที่ลงได้ไม่จำกัดไม่จำกัด
4จำนวนสินค้าที่ลงได้ไม่จำกัดไม่จำกัด
5ระบบจัดการ Stock สินค้ามีมี
6ระบบออก invoice (ใบเสร็จรับเงิน)มีมี
7ระบบคูปองส่วนลดมีมี
8อีเมล์แจ้งเตือนเมื่อมีคำสั่งซื้อมีมี
9ระบบตัวกรองสินค้า (Filter)มีมี
10รองรับการชำระเงินด้วยบัตรเครดิตมีมี
11ตั้งค่าขนส่งแบบซับซ้อนมีมี
12ระบบแจ้งเลขที่พัสดุมีมี
13รองรับการทำ SEOรองรับรองรับ
14ระบบ Multi Storeมีไม่มี
15ระบบรีวิวสินค้ามีต้องลง Plugin เพิ่ม
16ระบบ Wishlistมีต้องลง Plugin เพิ่ม
17ระบบออกโปรโมชั่นที่ซับซ้อนมีต้องลง Plugin เพิ่ม
18ระบบเว็บไซต์หลายภาษามีต้องลง Plugin เพิ่ม
19ระบบขายส่งมีต้องลง Plugin เพิ่ม
20ระบบเปรียบเทียบสินค้ามีต้องลง Plugin เพิ่ม
21ระบบแสดงสินค้าแนะนำ / สินค้าที่เกี่ยวข้องมีต้องลง Plugin เพิ่ม
22ระบบแสดงสินค้าที่ดูล่าสุดมีต้องลง Plugin เพิ่ม
23ระบบใส่ภาพลายน้ำสินค้าแบบอัตโนมัติมีต้องลง Plugin เพิ่ม
24ระบบ Blogต้องลง Plugin เพิ่มมี
25การลง Pluginลงผ่าน SSH เท่านั้นลงเองได้ง่ายๆ ผ่านระบบหลังร้าน
26การแบ่งกลุ่มลูกค้า และคิดราคาของแต่ละกลุ่มลูกค้าต่างกันทำได้ในตัวทำไม่ได้
27การเพิ่มหน้าบทความ และจัดหน้าเนื้อหาเองมี Toolbar ให้ จัดได้เหมือนใช้ MS wordจัดหน้าด้วยตัวเอง ได้ซับซ้อนมากกว่า
28หน้าตาระบบหลังร้านเมนูเป็นระเบียบ เหมาะกับเป็นเว็บขายของเมนูค่อนข้างเยอะตามจำนวน Plugin ที่ลง

ข้อดีของ Magento 2

  • ถูกออกแบบมาเพื่อทำเว็บ e-Commerce โดยเฉพาะ มี Feature เกี่ยวกับการขายของครบครัน ทั้งการแบ่งกลุ่มลูกค้า, การออกโปรโมชั่นที่ซับซ้อน, การเปรียบเทียบสินค้า ฯลฯ
  • ลงสินค้าแบบซับซ้อนมากๆ ได้ เช่น สินค้าที่เลือกชิ้นส่วนมาประกอบกัน แล้วคิดราคารวม (Bundle Product)
  • มีระบบเว็บหลายภาษามาในตัว การทำเว็บไซต์ 2 ภาษา หรือเพิ่มภาษาอื่นๆ เป็นเรื่องง่าย
  • หน้าตาระบบหลังร้านดูเรียบร้อยสวยงามและใช้งานง่าย เพราะเน้นขายของล้วนๆ จึงไม่มีเมนูแปลกๆ เข้ามา

ข้อสังเกตของ Magento 2

  • ต้องใช้ Host สำหรับ Magento 2 โดยเฉพาะ ซึ่งเป็น Host แบบ VPS ค่า Host เริ่มต้นที่เดือนละ 900 บาท
  • การติดตั้ง Plugin ต้องทำผ่าน Command Line เท่านั้น ซึ่งอาจไม่สะดวกกับผู้ใช้ที่ต้องการติดตั้ง Plugin ต่างๆ เพิ่มด้วยตัวเอง
  • การเพิ่มเนื้อหาเอง เช่น หน้าแสดงเนื้อหาการรับประกันสินค้า เครื่องมือการจัดหน้าเป็นแบบง่ายๆ ใช้งานง่ายเหมือนใช้ MS word อาจจัดหน้าแบบซับซ้อนมากไม่ได้

    หน้าตาระบบหลังร้านของ Magento 2
    หน้าตาระบบหลังร้านของ Magento 2
หน้าตาระบบหลังร้านของ WordPress WooCommerce
หน้าตาระบบหลังร้านของ WordPress WooCommerce

ข้อดีของ WordPress WooCommerce

  • ใช้ Share Host ได้ ค่า Host เริ่มต้นถูกกว่า (ปีละ 1,490 บาท)
  • ครบคลุมการใช้งานพื้นฐานด้าน e-Commerce เป็นส่วนมาก เช่น การลงสินค้าที่มีให้เลือกสีเลือกไซส์ หรือกดแล้วลิงค์ไปซื้อสินค้าที่ Shopee หรือ Lazada ได้
  • เพิ่มเนื้อและจัดหน้าเองได้ง่าย จัดหน้าตาแบบซับซ้อนได้เองง่ายๆ เนื่องจากมีเครื่องมือในการจัดหน้าเว็บไซต์มาให้
  • ลง Plugin เองได้ง่ายๆ ผ่านระบบหลังร้าน

ข้อสังเกต Wordpress WooCommerce

  • แบ่งกลุ่มลูกค้าไม่ได้ และคิดราคาแต่ละกลุ่มลูกค้าต่างกันไม่ได้
  • การทำเว็บ 2 ภาษาค่อนข้างยาก ต้องซื้อ Plugin เพิ่ม
  • หน้าตาระบบหลังร้านเป็นระเบียบน้อยกว่า Magento 2 (แต่เมื่อชินแล้วก็ทำความเข้าใจได้ไม่ยาก)

สรุป

แนะนำเลือกทำเว็บจาก Magento 2 ถ้าคุณ…

  • อยากได้เว็บที่มี Feature ด้าน e-Commerce แบบครบครัน เน้นขายของเป็นหลัก
  • ไม่มีข้อจำกัดเรื่องค่า Host ที่ต้องจ่ายปีละ 10,800 บาท
  • ไม่ได้เขียนหน้าหรือเพิ่มหน้าเนื้อหาที่มันมีความซับซ้อนของหน้ามากนัก

แนะนำเลือกทำเว็บจาก WordPress WooCommerce ถ้าคุณ…

  • อยากประหยัดค่า Hosting รายปี
  • เป็นเว็บขายของแบบไม่ต้องการแบ่งกลุ่มลูกค้า
  • อยากลง Plugin ต่างๆ ด้วยตัวเอง และจัดหน้าต่างๆ เพิ่มด้วยตัวเอง