แพลตฟอร์ม E-Commerce ได้แก่ช็อปปี้ ลาซาด้า และติ๊กต๊อก 3 ช่องทางที่กล่าวมานั้นเป็นช่องทางหลักที่พ่อค้า แม่ค้าหลายๆคนนิยมขายสินค้าออนไลน์ แต่ก็ต้องแลกมากับค่าธรรมเนียมการขาย หรือค่าคอมมิชชั่น และค่าโฆษณาสินค้า Shop Ads เพื่อให้สินค้าของเราเพิ่มยอดการมองเห็นสินค้า ซึ่งก็ถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายของธุรกิจเช่นกัน
Thaishopdesign พาดูค่าธรรมเนียมช่องทางการขาย 3 แพลตฟอร์ม E-Commerce ว่าแต่ละผู้ให้บริการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการขายสินค้าจากผู้ขายเท่าไหร่กันบ้าง
1. ช็อปปี้
ทางช็อปปี้ได้ออกนโยบายเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการให้บริการตามประเภทสินค้า และแบ่งค่าธรรมเนียมสำหรับ Mall Sellers และ non-Mall Sellers เริ่มมีผลตั้งแต่วันที่ 12 เมษายน 2567 เป็นต้นไป
– ค่าธรรมเนียมสำหรับ Mall Sellers (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)
ประเภทสินค้า | ค่าธรรมเนียมเดิม | ค่าธรรมเนียมใหม่ |
---|---|---|
สินค้ากลุ่ม Electronics เช่น มือถือและอุปกรณ์เสริม, คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง, กล้อง, โดรน, เครื่องเสียง, เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน, เกมและอุปกรณ์เสริม | 5% | 6% |
สินค้าในกลุ่ม Electronics บางประเภท | 6% | 5% หรือ 8% |
สินค้าที่ไม่อยู่ในกลุ่ม Electronics | 7% | 5% - 8% |
– ค่าธรรมเนียมสำหรับ Non-Mall Sellers (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)
ประเภทสินค้า | ค่าธรรมเนียมเดิม | ค่าธรรมเนียมใหม่ |
---|---|---|
สินค้ากลุ่ม Electronics | 4% | 5% |
สินค้าที่ไม่อยู่ในกลุ่ม Electronics | 4% | 4% |
สินค้าในหมวดหมู่สินค้าแฟชั่น | 5% | 6% |
สินค้าบางประเภทในหมวดหมู่ย่อยของหมวดหมู่สินค้าแฟชั่น | 4% | 5% |
2. ลาซาด้า
ลาซาด้า ประเทศไทย ได้มีการรายงานการเปลี่ยนแปลงค่าธรรมเนียมการใช้บริการ Marketplace และมีผลตั้งแต่วันที่ 23 ต.ค. 2566 ตามรายละเอียดต่อไปนี้
ประเภทสินค้า | ค่าธรรมเนียมเดิม | ค่าธรรมเนียมใหม่ |
---|---|---|
สินค้ากลุ่ม Electronics ได้แก่ เครื่องเสียง กล้อง โดรน และอื่นๆ | 3% | 4% |
สินค้ากลุ่ม Electronics ได้แก่ คอมพิวเตอร์ โน๊ตบุ๊ค และอื่นๆ | 3% | เท่าเดิม |
สินค้าสินค้าแฟชั่น ได้แก่ เสื้อผ้า กระเป๋า และอื่นๆ | 4% | 5% |
สินค้าสินค้าแฟชั่น ได้แก่ เครื่องประดับ คอนแทคเลนส์ | 3% | เท่าเดิม |
สินค้าอุปโภค บริโภค ได้แก่ นมผง ผ้าอ้อม | 3% | เท่าเดิม |
สินค้าอุปโภค บริโภค อื่นๆ | 3% | 4% |
สินค้าดิจิทัล | 3% | เท่าเดิม |
สินค้าทั่วไป | 3% | 4% |
– ค่าธรรมเนียมสำหรับผู้ขายสินค้าใน Lazmall ดังนี้
ประเภทสินค้า | ค่าธรรมเนียม |
---|---|
สินค้ากลุ่ม Electronics | 5% |
สินค้าอุปโภค บริโภค (สินค้าแม่และเด็ก) | 7% |
สินค้าอุปโภค บริโภค | 6% |
สินค้าสุขภาพ | 7% |
ของใช้ในบ้าน | 6% |
หมวดหมู่อื่นๆ | 7% |
Tiktok Shop
รายงานจาก Tiktok Shop เมื่อวีนที่ 1 เมษายน 2567 ที่ผ่านมา ได้ประกาศปรับค่าธรรมเนียมค่าคอมมิชชั่นการขายสินค้า (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) มีรายละเอียดต่อไปนี้
ประเภทสินค้า | ค่าธรรมเนียม |
---|---|
สินค้าแฟชั่น | 4.00% - 5.35% |
สินค้าอุปโภค บริโภค | 4.28% |
สินค้ากลุ่ม Electronics | 4.28% |
สินค้าไลฟ์สไตล์ เช่น อุปกรณ์กีฬา เครื่องครัว | 4.28% |
ค่าคอมมิชชั่นคำควณได้จาก ราคาสินค้า – ส่วนลดผู้ขาย ค่าธรรมเนียมการจัดส่งและส่วนลดแพลตฟอร์ม Tiktok Shop จะไม่รวมอยู่ในการคำนวณค่าคอมมิชชั่น
สูตรคำนวณค่าคอมมิชชั่น
ค่าคอมมิชชั่น = อัตราค่าธรรมเนียม * (ราคาสินค้า – ส่วนลดผู้ขาย)
ตัวอย่าง
1. รายการ รองเท้าสีเทา ราคาเดิม 1,900 บาท ส่วนลดผู้ขาย 120 บาท ราคาหลังหักส่วนลด 1,780 บาท
2. ผู้ซื้อ A ซื้อรองเท้าสีเทา 1 คู่
3. รองเท้าสีเทา มีค่าคอมมิชชั่น 4.28%
4.28% * (1,900 – 120) = 76.184 บาท
จากค่าธรรมเนียมการขายที่เพิ่มมากขึ้น และการแข่งขันของพ่อค้า แม่ค้าที่ขายของในแพลตฟอร์ม Shopee Lazada และ Tiktok อาจจะมีค่าโฆษณา เพื่อทำให้สินค้าขึ้นฟีดลูกค้า ทำให้พ่อค้าแม่ค้าจะต้องคำนึงถึงต้นทุนแอบแฝงเหล่านี้ เข้าไปในราคาสินค้าด้วย