ณ ปัจจุบัน มี Script สำหรับทำเว็บ e-Commerce อยู่ 2 ตัวหลักๆ คือ Magento 2 และ WordPress WooCommerce คำถามที่ทางผมได้รับอยู่บ่อยๆ ก็คือ ระหว่าง Magento 2 กับ WordPress WooCommerce มันต่างกันยังไง และเราจะเลือกทำเว็บจากอะไรดีและเหมาะสมกับเราที่สุด
ข้อแตกต่างระหว่าง Magento 2 และ WordPress WooCommerce
ข้อแตกต่างหลักๆ เลยก็คือ Magento 2 นั้น เป็น Script ที่ถูกออกแบบมาเพื่อทำเว็บไซต์ e-Commerce โดยเฉพาะ ตัวมันเองมี Feature ที่เกี่ยวกับการทำร้านค้าออนไลน์ค่อนข้างครบครัน ครอบคลุมทุกประเด็น ในขณะที่ WooCommerce เป็น Plugin เสริมของ WordPress อีกที ทำให้เว็บที่ทำจาก WordPress นั้นสามารถขายของออนไลน์ได้ง่ายๆ แต่อาจทำบางอย่างที่ซับซ้อนไม่ได้
เปรียบเทียบ Feature เด่นๆ ระหว่าง Magento 2 และ WP WooCommerce
ลำดับ | รายละเอียด | Magento | WooCommerce |
---|---|---|---|
1 | Hosting ที่ลงได้ | VPS Hosting สำหรับ M2 เท่านั้น | ลงได้เกือบทุก Host |
2 | ค่าบริการ Script รายปี | ไม่มี | ไม่มี |
3 | จำนวนหมวดหมู่สินค้าที่ลงได้ | ไม่จำกัด | ไม่จำกัด |
4 | จำนวนสินค้าที่ลงได้ | ไม่จำกัด | ไม่จำกัด |
5 | ระบบจัดการ Stock สินค้า | มี | มี |
6 | ระบบออก invoice (ใบเสร็จรับเงิน) | มี | มี |
7 | ระบบคูปองส่วนลด | มี | มี |
8 | อีเมล์แจ้งเตือนเมื่อมีคำสั่งซื้อ | มี | มี |
9 | ระบบตัวกรองสินค้า (Filter) | มี | มี |
10 | รองรับการชำระเงินด้วยบัตรเครดิต | มี | มี |
11 | ตั้งค่าขนส่งแบบซับซ้อน | มี | มี |
12 | ระบบแจ้งเลขที่พัสดุ | มี | มี |
13 | รองรับการทำ SEO | รองรับ | รองรับ |
14 | ระบบ Multi Store | มี | ไม่มี |
15 | ระบบรีวิวสินค้า | มี | ต้องลง Plugin เพิ่ม |
16 | ระบบ Wishlist | มี | ต้องลง Plugin เพิ่ม |
17 | ระบบออกโปรโมชั่นที่ซับซ้อน | มี | ต้องลง Plugin เพิ่ม |
18 | ระบบเว็บไซต์หลายภาษา | มี | ต้องลง Plugin เพิ่ม |
19 | ระบบขายส่ง | มี | ต้องลง Plugin เพิ่ม |
20 | ระบบเปรียบเทียบสินค้า | มี | ต้องลง Plugin เพิ่ม |
21 | ระบบแสดงสินค้าแนะนำ / สินค้าที่เกี่ยวข้อง | มี | ต้องลง Plugin เพิ่ม |
22 | ระบบแสดงสินค้าที่ดูล่าสุด | มี | ต้องลง Plugin เพิ่ม |
23 | ระบบใส่ภาพลายน้ำสินค้าแบบอัตโนมัติ | มี | ต้องลง Plugin เพิ่ม |
24 | ระบบ Blog | ต้องลง Plugin เพิ่ม | มี |
25 | การลง Plugin | ลงผ่าน SSH เท่านั้น | ลงเองได้ง่ายๆ ผ่านระบบหลังร้าน |
26 | การแบ่งกลุ่มลูกค้า และคิดราคาของแต่ละกลุ่มลูกค้าต่างกัน | ทำได้ในตัว | ทำไม่ได้ |
27 | การเพิ่มหน้าบทความ และจัดหน้าเนื้อหาเอง | มี Toolbar ให้ จัดได้เหมือนใช้ MS word | จัดหน้าด้วยตัวเอง ได้ซับซ้อนมากกว่า |
28 | หน้าตาระบบหลังร้าน | เมนูเป็นระเบียบ เหมาะกับเป็นเว็บขายของ | เมนูค่อนข้างเยอะตามจำนวน Plugin ที่ลง |
ข้อดีของ Magento 2
- ถูกออกแบบมาเพื่อทำเว็บ e-Commerce โดยเฉพาะ มี Feature เกี่ยวกับการขายของครบครัน ทั้งการแบ่งกลุ่มลูกค้า, การออกโปรโมชั่นที่ซับซ้อน, การเปรียบเทียบสินค้า ฯลฯ
- ลงสินค้าแบบซับซ้อนมากๆ ได้ เช่น สินค้าที่เลือกชิ้นส่วนมาประกอบกัน แล้วคิดราคารวม (Bundle Product)
- มีระบบเว็บหลายภาษามาในตัว การทำเว็บไซต์ 2 ภาษา หรือเพิ่มภาษาอื่นๆ เป็นเรื่องง่าย
- หน้าตาระบบหลังร้านดูเรียบร้อยสวยงามและใช้งานง่าย เพราะเน้นขายของล้วนๆ จึงไม่มีเมนูแปลกๆ เข้ามา
ข้อสังเกตของ Magento 2
- ต้องใช้ Host สำหรับ Magento 2 โดยเฉพาะ ซึ่งเป็น Host แบบ VPS ค่า Host เริ่มต้นที่เดือนละ 900 บาท
- การติดตั้ง Plugin ต้องทำผ่าน Command Line เท่านั้น ซึ่งอาจไม่สะดวกกับผู้ใช้ที่ต้องการติดตั้ง Plugin ต่างๆ เพิ่มด้วยตัวเอง
- การเพิ่มเนื้อหาเอง เช่น หน้าแสดงเนื้อหาการรับประกันสินค้า เครื่องมือการจัดหน้าเป็นแบบง่ายๆ ใช้งานง่ายเหมือนใช้ MS word อาจจัดหน้าแบบซับซ้อนมากไม่ได้
ข้อดีของ WordPress WooCommerce
- ใช้ Share Host ได้ ค่า Host เริ่มต้นถูกกว่า (ปีละ 1,490 บาท)
- ครบคลุมการใช้งานพื้นฐานด้าน e-Commerce เป็นส่วนมาก เช่น การลงสินค้าที่มีให้เลือกสีเลือกไซส์ หรือกดแล้วลิงค์ไปซื้อสินค้าที่ Shopee หรือ Lazada ได้
- เพิ่มเนื้อและจัดหน้าเองได้ง่าย จัดหน้าตาแบบซับซ้อนได้เองง่ายๆ เนื่องจากมีเครื่องมือในการจัดหน้าเว็บไซต์มาให้
- ลง Plugin เองได้ง่ายๆ ผ่านระบบหลังร้าน
ข้อสังเกต Wordpress WooCommerce
- แบ่งกลุ่มลูกค้าไม่ได้ และคิดราคาแต่ละกลุ่มลูกค้าต่างกันไม่ได้
- การทำเว็บ 2 ภาษาค่อนข้างยาก ต้องซื้อ Plugin เพิ่ม
- หน้าตาระบบหลังร้านเป็นระเบียบน้อยกว่า Magento 2 (แต่เมื่อชินแล้วก็ทำความเข้าใจได้ไม่ยาก)
สรุป
แนะนำเลือกทำเว็บจาก Magento 2 ถ้าคุณ…
- อยากได้เว็บที่มี Feature ด้าน e-Commerce แบบครบครัน เน้นขายของเป็นหลัก
- ไม่มีข้อจำกัดเรื่องค่า Host ที่ต้องจ่ายปีละ 10,800 บาท
- ไม่ได้เขียนหน้าหรือเพิ่มหน้าเนื้อหาที่มันมีความซับซ้อนของหน้ามากนัก
แนะนำเลือกทำเว็บจาก WordPress WooCommerce ถ้าคุณ…
- อยากประหยัดค่า Hosting รายปี
- เป็นเว็บขายของแบบไม่ต้องการแบ่งกลุ่มลูกค้า
- อยากลง Plugin ต่างๆ ด้วยตัวเอง และจัดหน้าต่างๆ เพิ่มด้วยตัวเอง